เว็บไซต์ ittiyano2.com เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ทางเราได้มีโอกาสได้จัดทำ โดยตัวเว็บไซต์ สามารถลงรูปและดูรายละเอียดของพระแต่ละองค์ได้ โดยการดูรูปภาพจะมีฟังก์ชั่นสำหรับซูมเพื่อดูรายละเอียดของเนื้อพระได้ มีระบบแอดมินสำหรับจัดการระบบหลังบ้าน สามารถเพิ่มลบข้อมูลได้เอง สามารถแชร์ลิงค์ต่างๆไปที่เฟสบุ๊คได้ คอมเม้นโต้ตอบกันได้

ต้องยอมรับว่าตั้งแต่เกิดโควิดขึ้นมาเมื่อประมาน 2 ปีที่แล้วหลายๆคนหลายธุรกิจก็ต้องเริ่มปรับตัวหาหนทางในการทำธุรกิจใหม่และธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดก็คงหนีไม่พ้นธุรกิจขนส่งและการขายออนไลน์ และในเมื่อธุรกิจพวกนี้เติบโตขึ้นมาผู้คนก็จะมองหาโปรแกรมหรือระบบเข้ามาช่วยในการทำงาน โดยธุรกิจขนส่งเนี่ยก็จะมีเจ้าใหญ่ๆมาขายเฟรนไชน์กันมากมาย เปิดเป็นตึกแถว มีถึงขั้นมารับที่บ้าน ชิ้นเดียวก็มารับอะไรแบบนั้น ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้บริโภค แต่ธุรกิจการขายของ ด้วยความหลากหลายของสินค้า หลากหลายวิธีการขาย จึงทำให้ผู้คนมองหาระบบต่างๆมากมายมาใช้งาน แล้วทีนี้เราจะเลือกที่ไหนมาทำระบบให้เรา

วิธีการที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้ก็คือ หันมามองตัวเองก่อนว่า เราอยากมีระบบเป็นของตัวเอง หรือว่าอยากใช้สำเร็จรูป ซึ่งข้อดีข้อเสียก็จะต่างกันออกไปแล้วแต่ความต้องการ

ระบบสต็อคสำเร็จรูป

ข้อดีข้อเสีย
สมัครปุ๊บใช้งานได้ทันที
ปัญหาของระบบมีน้อย
โฟลวการทำงานชัดเจน
ถูกประหยัด
อยากได้อะไรเพิ่มไม่สามารถทำได้
ไม่สามารถแก้ไขโฟลวการทำงานได้
ไม่สามารถต่อยอดมาทำระบบวิเคราะห์เพิ่มได้
ต้องจ่ายเงินตลอดไปจนกว่าจะเลิกใช้

ระบบสต็อคแบบเขียนขึ้นมาใหม่

ข้อดีข้อเสีย
ตรงตามความต้องการตัวเอง
พัฒนาต่อยอดได้ตลอด
นำมาทำรายงานวิเคราะห์ได้
บั๊คเยอะ
ค่าใช้จ่ายสูง
ต้องใช้เวลาพัฒนา

อย่างที่ในตารางที่ผมได้ทำการเปรียบเทียบเลย เมื่อเราเลือกได้แล้วว่าเราจะทำเองหรือว่าใช้สำเร็จรูปเราก็จะมาดูกันต่อว่าวิธีการหลังจากที่เราเลือกแล้วเป็นอย่างไร

ใช้ระบบสต็อคสำเร็จรูป

หากเราเลือกใช้ระบบสต็อคสำเร็จรูปเราก็จะสามารถขอทดลองใช้งานก่อนได้ เพราะโดยปกติระบบพวกนี้จะคิดเงินเราเป็นรายเดือนหรือตามเงื่อนไขต่างๆที่เค้าได้กำหนด ให้เราไปทำการขอลิงค์ ตัวอย่างมาลองใช้งานดูก่อนว่า ตอบโจท์หรือโอเคกับธุรกิจเราหรือไม่ หากตกลงหรือโอเคแล้วเราจึงเลือกใช้ และสิ่งสำคัญของการเลือกระบบสต็อคสำเร็จรูปนี่ก็คือราคาที่ต้องจ่าย ให้พิจารณาค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขต่างๆของผู้ให้บริการด้วย เช่น จ่าย 500 ทำออเดอร์ได้ 100 ออเดอร์/คำสั่งซื้อ เป็นต้น เราต้องมองการเติบโตและวางแผนการเติบโตของธุรกิจเราดีๆ จึงจะช่วยในการตัดสินใจได้

ระบบสต็อคแบบเขียนขึ้นมาใหม่

หากคุณคิดจะพัฒนาระบบสต็อคก็จะต้องมองหาบริษัทที่รับเขียนโปรแกรมสต็อคซึ่งสิ่งสำคัญของการจะไปจ้างเค้าเขียนโปรแกรมหรือระบบสต็อคเนี่ย เราต้องรู้โฟลวการทำงานของตัวเองก่อนต้องชัดเจนกับตัวเองให้ได้ก่อน จากนั้นจึงค่อยไปถ่ายทอดต่อผู้พัฒนาโปรแกรม เมื่อเราถ่ายทอดให้แก่ผู้พัฒนามาแล้วางเค้าก็จะประเมินราคาค่าจัดทำมาให้ โดยค่าจัดทำตรงๆนี้ผมแนะนำให้ผู้อ่านแบ่งออกเป็นอย่างน้อยๆ 4 งวดงาน คือ

  1. มัดจำ แน่นอนว่าเมื่อเราจะจ้างเค้าทำงานเราก็ต้องทำการมัดจำให้กับผู้พัฒนาก่อน
  2. เมื่อคอนเฟิร์มขอบเขตงาน หลังจากได้ชำระมัดจำแล้วผู้พัฒนาควรจะทำตัวอย่างหน้าจอตัวอย่าง เงื่อนไขการทำงานของระบบต่างๆมาให้ผู้ว่าจ้างดูก่อนที่จะดำเนินการพัฒนาจริง เมื่อผู้ว่าจ้างมั่นใจและเข้าใจมองระบบไปในทิศทางเดียวกันแล้วจึงค่อย เซ็นเอกสารเพื่อกำหนดขอบเขตงาน หลังจากที่คอนเฟิร์มขอบเขตงานแล้วผู้พัฒนาควรจะทำเอกสารไทม์ไลน์ออกมาให้ชัดเจนว่าแต่ละโมดูลแต่ละฟังก์ชั่นใช้เวลาในการพัฒนาเท่าไหร่และจะเสร็จเมื่อไหร่
  3. เมื่อส่งมอบงาน 50% ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า 50% ที่ว่านี้มาจากไหน ให้ผู้ว่าจ้างมองกลับไปที่ไทม์ไลน์จากงวดที่สอง จากนั้นให้ทำการตกลงกับผู้พัฒนาว่าขอบเขตงาน 50% ที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในส่วนแรกเป็นอย่างไร ซึ่งในระหว่างนี้ผู้ว่าจ้างจะต้องทำการทดสอบระบบ อย่างหนักหน่วง เพื่อให้เจอปัญหาเยอะที่สุดและส่งกลับไปให้ผู้พัฒนาแก้ไข
  4. เมื่อส่งมอบงาน 100% อะหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เลยเหลอ จริงๆ ในมุมมองผมมันก็ไม่เชิง 100 ซะทีเดียว มันควรจะเป็นหลังจากขึ้นระบบไปแล้ว 1-2 เดือน เพื่อให้ดูว่ากรทำงานจริงระบบมันมีปัญหาหรือเปล่า ซึ่งเราต้องมองให้ออกว่ามันเป็นปัญหาของระบบหรือเป็นปัญหาของคนใช้งาน เพราะผู้ว่าจ้างจะเอาปัญหาของคนใช้งานมาเป็นข้อต่อรองในการจะไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายไม่ได้

สรุป

จากที่ผมได้พิมพ์อะไรก็ไม่รู้ยืดยาวเยอะแยะเต็มไปหมด ผมพอจะสรุปให้ได้ก็คือว่า หากธุรกิจของตัวเองไม่น่าจะไปได้ไกลหลักล้านหลักสิบล้านผมก็อยากจะแนะนำให้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพราะมันสะดวกรวดเร็วใช้งานได้ทันทีไม่ต้องรอ แต่ถ้าหากธุรกิจคุณคิดว่ามันจะโตและไปได้ไกลผมก็อยากจะแนะนำให้ใช้เป็นการพัฒนาระบบึ้นมาใหม่ เพื่อที่ว่าในอนาคตเราอาจจะจ้างโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาโปรแกรมต่อหรือจากบริษัทมาพัฒนาต่อก็ได้

แต่อย่างไรก็ตามทางผมก็มีระบบสต็อคสำเร็จรูปที่สามารถนำไปต่อยอดได้มาให้ได้ลอง ถ้าสนใจก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ตามเบอร์โทรที่อยู่บนเว็บไซต์ได้เลยครับ

ถ้าจะถามว่าปัจจุบัน เว็บไซต์ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ในมุมมองของผม ผมมองว่ายังไงก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ถึงแม้จะมีสื่อโซเชียลมีเดีย ต่างๆมากมายในการประชาสัมพันธ์ องค์กร ร้านค้า หรือ สิ่งอื่นๆ เพียงแต่ เราต้องมาถามตัวเองก่อนว่า จุดประสงค์ของการทำเว็บของเราทำไปทำไม

  1. ทำเพื่อนำเสนอองค์กร
    การทำเว็บไซต์ เพื่อนำเสนอองค์กรก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ใช้สำหรับประชาสัมพันธ์ได้ ดีเพราะตัวเว็บไซต์สามารถแสดงผลในแบบที่คงที่อัพข้อมูลเข้าไปแล้วไม่หายไปไหน เชื่อมโยงไปหาธุรกิจอื่นๆได้ง่ายหรือสามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้ในรูปแบบที่ต้องการ แต่ก็ต้องมองกลับไปอีกว่าการลงทุนทำเว็บไซต์มีมูลราคาสูงมากแค่ไหน โดยปัจจุบันการทำเว็บไซต์ราคาถูกมีอยู่มากมายให้ทางองค์กรหรือสถาบันต่างๆได้เลือกใช้
  2. ทำเพื่อนำเสนอสินค้า
    เว็บไซต์แสดงสินค้า เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เราสามารถประชาสัมพันธ์สินค้าให้กับลูกค้าได้ โดยวิธีการที่แนะนำคือการนำลิงค์รายละเอียดสินค้าต่างๆของเรา ไปแชร์ตามสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ แล้วให้ลูกค้าคลิ๊กกลับมาที่เว็บเรา โดยเราสามารถแนบไฟล์รายละเอียดต่างๆไว้ในเว็บไซต์ของเราได้ เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าถึงข้อมูลของเราได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น แต่เว็บไซต์ด้านนี้ในมุมมองของผมจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเพราะต้องเน้นความสวยงามและลูกเล่นต่างๆเพื่อให้ตัวสินค้าดูโดดเด่นมากขึ่น
  3. ทำเพื่อขายของ/อีคอมเมิร์ซ
    ผมคิดว่าการทำเว็บอีคอมเมิร์ซในยุกต์ปัจจุบันไม่น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนสักเท่าไหร่ ยกเว้นแต่ว่าสินค้าของเรา เราเป็นเจ้าตลาด มีเราคนเดียว จึงจะคุ้มค่า เพราะปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น shopee , lazada ก็สามารถลงขายสินค้าได้แถมยังง่ายอีกด้วย รองรับการทำระบบฟูลฟิลเม้นให้พร้อมเสร็จ คือเรียกได้ว่าขอแค่มีซัพพลายเออร์ที่สามารถซื้อของได้ในราคาถูก ก็ไปใช้ระบบฟูลของสองค่ายดังนั้นขายของรอรับเงินอย่างเดียวเลย

โดยภาพรวมที่ผมมองออกในการทำเว็บไซต์ก็จะมี 3 ส่วนใหญ่ๆ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังไงก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่านลองคิดดูว่าหากท่านจะทำเว็บไซต์ มันคุ้มค่ากับการลงทุนหรือเปล่า มองธุรกิจเราให้ออก มองจุดประสงค์ของการทำให้ออก แล้วเราจะไม่รู้สึกเสียดายที่เราได้ลงทุนครับ